- Services
- Case Studies
- Technologies
- NextJs development
- Flutter development
- NodeJs development
- ReactJs development
- About
- Contact
- Tools
- Blogs
- FAQ
Flutter คืออะไร ฟรีมั้ย

ในปัจจุบัน กระแสการพัฒนาแอปพลิเคชันแบบข้ามแพลตฟอร์มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีเครื่องมือหลากหลายถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับความต้องการนี้ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้สามารถพัฒนาแอปพลิเคชันข้ามแพลตฟอร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดแยกสำหรับแต่ละแพลตฟอร์ม ทำให้กระบวนการพัฒนาสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่ง Flutter คือหนึ่งในเครื่องมือเหล่านั้นนั่นเอง
Flutter Framework เครื่องสำหรับสร้างแอป Cross-Platform

Flutter เป็น Framework สำหรับพัฒนาแอปพลิเคชันแบบ Cross-Platform ซึ่งหมายความว่าสามารถเขียนโค้ดเดียวแล้วนำไปใช้งานได้ทั้งบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดแยกกันสำหรับแต่ละระบบปฏิบัติการ เช่น iOS และ Android ทำให้กระบวนการพัฒนามีความรวดเร็วและประหยัดต้นทุนมากขึ้น
โดย Flutter ถูกพัฒนาและสนับสนุนโดยบริษัท Google Inc. ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในปี ค.ศ. 2018 ซึ่งจุดเด่นของ Flutter คือการใช้ภาษา Dart ซึ่งเป็นภาษาการเขียนโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อสร้าง UI ที่รวดเร็วและสวยงาม นอกจากนี้ Flutter ยังมีชุดเครื่องมือ (SDK) ที่ช่วยในการสร้างและปรับแต่งหน้าจอแอปพลิเคชันให้ดูเป็นธรรมชาติและมีความลื่นไหล
ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา Flutter ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนสามารถรองรับการพัฒนาแอปพลิเคชันได้มากขึ้นถึง 6 แพลตฟอร์มหลัก ได้แก่
- iOS : ระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์ของ Apple เช่น iPhone และ iPad
- Android : ระบบปฏิบัติการยอดนิยมสำหรับ Smartphone และ Taplet
- Website : การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับใช้งานบนเว็บไซต์ ผ่านเบราว์เซอร์
- Windows: ระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์ PC และ Laptop
- macOS: ระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์ mac
- Linux: ระบบปฏิบัติการ Open Source ที่นิยมในกลุ่มนักพัฒนาและเซิร์ฟเวอร์
การรองรับแพลตฟอร์มที่หลากหลายเช่นนี้ ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชันที่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น โดยสามารถเขียนโค้ดครั้งเดียว และนำไปใช้งานได้บนหลายแพลตฟอร์มอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยลดระยะเวลาการพัฒนา และต้นทุนในการบำรุงรักษาแอปพลิเคชันในระยะยาว
นั่นจึงทำให้ Flutter เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังและยืดหยุ่นสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันยุคใหม่ ที่รองรับการใช้งานบนหลายแพลตฟอร์ม จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักพัฒนา ที่ต้องการสร้างแอปพลิเคชันครอบคลุมกลุ่มผู้ใช้ในยุคดิจิทัลนี้
ทำไมถึงควรใช้ Flutter ในการพัฒนาแอป

1. แอปพลิเคชันประสิทธิภาพสูง
Flutter สร้าง UI ด้วยตัวเองโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Skia Graphics Engine ซึ่งสามารถเรนเดอร์กราฟิกได้อย่างรวดเร็วและราบรื่น ทำให้แอปพลิเคชันสามารถแสดงผลได้อย่างลื่นไหล ไม่มีอาการหน่วงหรือกระตุก
และเนื่องจาก Flutter คอมไพล์โค้ดเป็น Native Code สำหรับแต่ละแพลตฟอร์ม ทำให้แอปพลิเคชันมีประสิทธิภาพสูงและสามารถใช้งานทรัพยากรของอุปกรณ์ได้อย่างเต็มที่ ผนวกกับการสร้าง UI ที่ปรับแต่งได้ตามต้องการก็เป็นไปได้อย่างง่ายดาย ทำให้สามารถสร้างแอปพลิเคชันที่มีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อผู้ใช้ได้ดีขึ้นนั่นเองครับ
2. การเขียนโค้ดที่มีประสิทธิภาพ
โครงสร้างของ Flutter ทำให้โค้ดสามารถเขียนและจัดการได้ง่ายขึ้น ด้วย Widget ที่เป็น Modular และ Reusable ซึ่งช่วยให้สามารถพัฒนาและปรับปรุงแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็ว
อีกทั้งการใช้ภาษา Dart ซึ่งสนับสนุนการเขียน Asynchronous Code และมีฟีเจอร์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนา เช่น Futures หรือ Streams ก็ทำให้สามารถจัดการกับข้อมูลและการทำงานพร้อมกันได้ดีขึ้น
3. Hot Reloads และ Hot Restarts
คุณสมบัติ Hot Reload ช่วยให้นักพัฒนาสามารถดูผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงโค้ดได้ทันที โดยไม่ต้องรอการคอมไพล์ใหม่ทั้งหมด ซึ่งช่วยลดเวลาการพัฒนาและทดสอบลงไป
ส่วน Hot Restarts ทำให้สามารถรีเฟรชแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็ว เพื่อดูผลลัพธ์ของการปรับปรุงต่าง ๆ ในแอปพลิเคชัน ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ช่วยให้กระบวนการพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความซับซ้อนในการดีบักและการปรับปรุงแอปพลิเคชัน

4. รหัสฐานเดียว
Flutter ช่วยให้สามารถพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับทั้ง Android และ iOS ด้วยโค้ดเดียวกัน ซึ่งลดความซับซ้อนและความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น จากการเขียนโค้ดสำหรับแต่ละแพลตฟอร์มแยกกันลงไปได้
อีกทั้งการบำรุงรักษาและการอัปเดตแอปพลิเคชันก็ง่ายขึ้น เนื่องจากทุกแพลตฟอร์มใช้โค้ดเดียวกัน ทำให้สามารถเพิ่มฟีเจอร์หรือแก้ไขบัคได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถขยายไปยังแพลตฟอร์มอื่น ๆ ได้ในอนาคต เช่น Website หรือ Desktop ด้วยการปรับแต่งที่ไม่มากนัก
“Is Flutter Free” คำถามยอดฮิตของคนเริ่มศึกษา
ในปัจจุบัน หากใช้เว็บไซต์ GitHub เป็นเกณฑ์ จะเห็นว่ามี Flutter Developer อยู่ทั่วโลกประมาณ 48,000 คน โดยเฉพาะในประเทศที่เทคโนโลยีเติบโตแล้วอย่าง สหรัฐอเมริกา, อินเดีย, ยุโรป และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังมีแนวโน้มมากขึ้นทุกปี ๆ
ซึ่งในขณะนี้ ก็มีเว็บไซต์ระดับโลกมากมายที่นำ Flutter มาใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น

- Google ผู้พัฒนาและสนับสนุน Flutter ซึ่งใช้ Framework ตัวนี้ในหลายโปรเจกต์ของตน เช่น Google Ads, Google Assistant
- Alibaba ที่ใช้ Flutter สำหรับแอปพลิเคชันของ Alibaba เช่น Xianyu (แอปซื้อขายมือสอง)
- Tencent ที่ใช้ Flutter ในการพัฒนาแอปต่าง ๆ เช่น Now Live
- ByteDance (เจ้าของ TikTok) ที่ใช้ Flutter สำหรับบางส่วนของแอป TikTok และแอปอื่น ๆ
- eBay ที่ใช้ Flutter สำหรับแอป eBay Motors
- Groupon ที่พัฒนาแอปพลิเคชันของตนเองด้วย Flutter
- Reflectly ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันเพื่อการบันทึกความรู้สึกเอง ก็ใช้ Flutter ในการพัฒนา
- BMW ที่ใช้ Flutter สำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับลูกค้าและบริการต่าง ๆ
- Nubank ธนาคารดิจิทัลในบราซิลเองก็ใช้ Flutter สำหรับแอปพลิเคชันเช่นกัน
สิ่งเหล่านี่เกิดขึ้นได้เพราะ Flutter สามารถใช้งานได้ฟรีและยังเป็น Open Source ภายใต้ใบอนุญาตที่อนุญาตให้ใช้งาน, แก้ไข และแจกจ่ายได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ นั่นหมายความว่าตัวคุณสามารถดาวน์โหลดไปใช้งาน และพัฒนาแอปพลิเคชันด้วย Flutter ได้ฟรีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ นั่นเองครับ
สำหรับการติดตั้ง Flutter ไปใช้งานเบื้องต้น สามารถทำได้ ดังนี้
1. ดาวน์โหลด Flutter SDK
ไปที่เว็บไซต์ทางการของ Flutter อย่าง https://flutter.dev แล้วคลิกที่เมนู Get Started จากนั้นเลือกแพลตฟอร์มที่คุณใช้งานอย่าง Windows, macOS หรือ Linux ก่อนที่จะดาวน์โหลดไฟล์ ZIP สำหรับ Windows หรือแพคเกจสำหรับ macOS/Linux มาใช้งาน
2. ติดตั้ง Flutter
แตกไฟล์ ZIP ที่ดาวน์โหลดมาไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เช่น C:\flutter สำหรับ Windows แล้วเพิ่มเส้นทาง (Path) ของ Flutter ไปยัง Environment Variables
- Windows : ไปที่ System Properties > Environment Variables แล้วเพิ่ม Path ไปยังโฟลเดอร์ bin ของ Flutter
- macOS/Linux : เพิ่มบรรทัด export PATH=”$PATH:[PATH_TO_FLUTTER_DIRECTORY]/flutter/bin” ในไฟล์ ~/.bashrc หรือ ~/.zshrc
3. ตรวจสอบการติดตั้ง
เปิด Terminal หรือ Command Prompt แล้วรันคำสั่ง flutter doctor ซึ่งคำสั่งนี้จะเช็คความพร้อมของเครื่อง และรายงานปัญหาที่ต้องแก้ไข เช่น การติดตั้ง Android SDK หรือ Xcode
4. ติดตั้งเครื่องมือพัฒนาเพิ่มเติม
โดยสำหรับ Android ติดตั้ง Android Studio และตั้งค่าตามคำแนะนำในคำสั่ง flutter doctor ส่วนสำหรับ iOS สำหรับผู้ใช้ macOS ให้ติดตั้ง Xcode ครับ
โดยหลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว คุณก็พร้อมที่จะสร้างและพัฒนาแอปพลิเคชันด้วย Flutter ได้แล้วครับ
สรุป
Flutter เป็นเครื่องมือพัฒนาแอปพลิเคชันข้ามแพลตฟอร์มที่สามารถสร้างแอปสำหรับ iOS, Android, เว็บไซต์, Windows, MacOS และ Linux ได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ดแยกแพลตฟอร์มกัน ซึ่งเราสามารถใช้งานได้ฟรีและไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
นอกจากนี้ ตัวของ Flutter ช่วยให้พัฒนาแอปที่มีประสิทธิภาพสูงด้วยรหัสฐานเดียว มีฟีเจอร์ Hot Reload ที่ช่วยให้การพัฒนาทำได้อย่างรวดเร็วขึ้น ทำให้การใช้งาน Flutter จึงเป็นทางเลือกที่นิยมในปัจจุบันสำหรับนักพัฒนา ที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็วในการสร้างแอปหลายแพลตฟอร์มนั่นเองครับ
แต่หากคุณกำลังมองหา Software House ที่มีบริการพัฒนาแอป Flutter อยู่แล้ว Till It’s Done ของพวกผม คือบริษัท Software House ที่เชี่ยวชาญในการสร้างแอปพลิเคชัน Flutter ที่รวดเร็วและ Scale ได้ด้วยประสบการณ์มากกว่า 4 ปี และยังมีโครงการที่ประสบความสำเร็จอีก 6 โครงการ ซึ่งสามารถใช้งานได้ดีทั้งบนระบบปฏิบัติการ iOS และ Androidซึ่งหากสนใจ สามารถติดต่อได้ที่เว็บไซต์ของของพวกผม Till it’s done หรือทางอีเมลล์ rick@tillitsdone.com นี้ได้เลยนะครับ






Talk with CEO
We'll be right here with you every step of the way.
We'll be here, prepared to commence this promising collaboration.
Whether you're curious about features, warranties, or shopping policies, we provide comprehensive answers to assist you.